วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดเรื่องซอฟแวร์

1. ซอฟแวร์ประยุกต์เกี่ยวข้องกับระบบปฎิบัติการอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ   
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เขียนขึ้นมาใช้งานเองเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ ซึ่งในระบบปฏิบัติการจะไม่มีให้ใช้ต้องซื้อมาติดตั้งเองในภายหลังและระบบปฏิบัติการเองก็จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เป็นโปรแกรมต่าง ๆ มาใช้งานในปัจจุบันด้วยเช่นกัน



2. ซอฟแวร์ประเภท Open Source คืออะไร

ตอบ   ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส (Open Source Software – OSS) คือซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่มีไลเซนส์แบบโอเพนซอร์ส ซึ่งมีลักษณะต่างจากไลเซนส์ของซอฟต์แวร์ทั่วไป คือผู้พัฒนาเจ้าของซอฟต์แวร์จะอนุญาตให้ผู้ใช้ติดตั้งและใช้งานได้อย่างไม่จำกัดทั้งจำนวน และรูปแบบการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานส่วนตัว ในเชิงการค้า หรือในองค์กร นอกจากนี้ยังอนุญาตและสนับสนุนให้เรียนรู้ทำความเข้าใจการทำงานของซอฟต์แวร์ โดยการเผยแพร่ต้นฉบับ (source code) ของซอฟต์แวร์ออกมา และอนุญาตให้แก้ไขดัดแปลงให้ตรงความต้องการได้



3.จงบอกประเภทของโปรแกรมยูทิลิตี้ที่คุณรู้จักมาสัก 3 โปรแกรม พร้อมอธิบายการใช้งาน

ตอบ   1. ประเภทการจัดการไฟล์ ( File Manager )เป็นยูทิลิตี้ที่มีหน้าที่หลักในการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ต่าง ๆ เช่น การคัดลอก การเปลี่ยนชื่อ การลบ และการย้ายไฟล์ เป็นต้น ระบบปฏิบัติการ Windows รุ่นใหม่ ๆ ยังได้เพิ่มคุณสมบัติที่เรียกว่า image viewer เพื่อนำมาปรับใช้กับไฟล์ที่เป็นรูปภาพได้อีกด้วย เมื่อใดที่ต้องการเรียกดูไฟล์ที่เป็นรูปภาพ (จะแสดงเป็นภาพขนาดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า thumbnail ) ผู้ใช้งานสามารถที่จะดับเบิลคลิกและเปิดดูได้ทันที

         2.  ประเภทการสแกนดิสก์ ( Disk Scanner ) เมื่อใดก็ตามที่อุปกรณ์สำรองข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์หรือฟล็อปปี้ดิสก์เกิดปัญหาในการใช้งานขึ้น ยูทิลิตี้ประเภทนี้จะทำการสแกนหาข้อผิดพลาดต่าง ๆ เหล่านั้น พร้อมทั้งหาทางแก้ปัญหานั้นให้ด้วย ยูทิลิตี้ประเภทสแกนดิสก์ อาจพบเห็นได้กับการเอาไปใช้เพื่อสแกนหาไฟล์ที่ไม่ต้องการใช้งาน ( unnecessary files ) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เป็นจำนวนมากเมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ทำงานไปสักระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นเพื่อให้มีพื้นที่เก็บบันทึกข้อมูลเหลือคืนมา เราอาจเลือกใช้โปรแกรม เช่น Disk Cleanup ทำการสำรวจและกำจัดไฟล์เหล่านั้นออกไปจากระบบเพื่อกันพื้นที่ไว้เก็บข้อมูลที่จำเป็นใหม่ ๆ อีกได้
         3.ประเภทรักษาหน้าจอ ( Screen Saver ) จอภาพของคอมพิวเตอร์ เมื่อเราเปิดทำงานและปล่อยทิ้งให้แสดงภาพเดิมโดยไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ เกิดขึ้นเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดรอยไหม้บนสารเรืองแสงที่ฉาบผิวจอและไม่สามารถลบหายออกไปได้ เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานเข้าอาจส่งผลให้อายุการใช้งานของหน้าจอคอมพิวเตอร์สั้นลงตามไปด้วย โปรแกรมประเภทรักษาหน้าจอหรือ Screen Saver จะมาช่วยป้องกันปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถตั้งค่าระยะเวลาให้โปรแกรมตรวจเช็คและเริ่มทำงานได้หากไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ ของจอภาพ เช่น 5 นาที หรือ 10 นาที เป็นต้น เมื่อเราทำการขยับเมาส์หรือเริ่มที่จะนั่งทำงานใหม่ โปรแกรมดังกล่าวก็จะหายไป ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับรักษาหน้าจอสามารถเลือกลวดลายหรือรูปแบบภาพได้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นแล้วเพื่อเป็นการป้องกันการใช้งานของบุคคลที่สาม อาจใช้การตั้งรหัสผ่านของโปรแกรมรักษาหน้าจอเอาไว้ด้วย


4. โปรแกรมป้องกันไวรัสมีความสำคัญอย่างไร

ตอบ   โปรแกรมป้องกันไวรัสคือตู้ยาประจำบ้าน, ถ้าเปรียบคอมพิวเตอร์เป็นบ้านของเรา และไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นโรคร้ายที่คุกคามเราแล้ว โปรแกรมป้องกันไวรัสก็คือตู้ยาประจำบ้านที่ต้องมีติดบ้านไว้ เพื่อป้องกันรักษาผู้ที่อยู่ในบ้านซึ่งก็คือข้อมูลที่สำคัญของเรา และสำหรับโลกภายนอก หากมีการแพร่กระจายของโรคร้ายชนิดใหม่ที่ตู้ยาของเรายังไม่มียาใช้ป้องกันหรือรักษา เราก็จำเป็นต้องไปหายาชนิดนั้นมาเก็บไว้ คอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกันเมื่อเครื่องของเราได้ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสไม่ว่าจะเป็นฟรีแวร์ หรือแบบมีลิขสิทธิ์ ไปแล้ว สิ่งที่ต้องทำก็คือการอัพเดตโปรแกรมให้ทันสมัยอยู่เสมอนั่น

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ชนิดของ แรม รอม และรีจิสเตอร์ (Register)

ประเภทของแรม
RAM โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. Static Random Access Memory ( SRAM )
            คือ RAM ซึ่งเก็บรักษาข้อมูลบิตไว้ในหน่วยความจำของมันตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอยู่ ไม่เหมือนกับดีแรม (DRAM) ที่เก็บข้อมูลไว้ในเซลซึ่งประกอบขึ้นด้วยตัวเก็บประจุหรือคาปาซิเตอร์(Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor) 
2. Dynamic Random Access Memory ( DRAM )
            คือ RAM หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและเครื่องเวิร์คสเตชั่น(Workstation) ลักษณะของ DRAM จะเป็นคล้ายกับเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ         ประเภทของ DRAM ในท้องตลาดแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก 
                        2.1)  FPM DRAM
                                    เป็น RAM ชนิดที่ใช้กับ PC ในยุคเริ่มต้น โดยมีรูปแบบคือ SIMM (Single Inline Memory Modules)ปกติจะมีแบบ SIMM ละ 2, 4, 8, 16 และ 32 MB โดยมีค่า refresh rate ของวงจรอยู่ที่ 60 และ 70 nana sec.โดยค่า refresh ที่น้อยกว่าจะความเร็วมากกว่า
                        2.2)  EDO DRAM
                                    เป็นชนิดที่ปรับปรุงมาจาก FPM โดยมีการปรับปรุงเรื่องการอ่านข้อมูล โดยทั่วไปแล้วการอ่านข้อมูลจาก RAM จะต้องระบุตำแหน่งแนวตั้ง และแนวนอนให้แก่วงจร RAM ถ้าเป็นชนิด FPM แล้วต้องระบุแนวใดแนวหนึ่งให้เสร็จเสียก่อน แล้วจึงระบุอีกแนวหนึ่ง แต่ EDO สามารถระบุค่าตำแหน่งในแนวตั้ง (CAS) และแนวนอน(RAS) ได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน หรือพร้อมกันได้
                        2.3)  SDRAM
                        เป็น RAM ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดย 1 DIMMs จะมี 168 ขา และส่งข้อมูลได้ทีละ 64 บิต ทำให้ SDRAM แผงเดียวก็สามารถทำงานได้ เวลาในการเข้าถึงข้อมูลของ SDRAM จะมีค่าประมาณ6-12 n Sec. ปัจจุบัน SDRAM สามารถทำงานได้ที่ความถี่ 66, 100 และ 133 MHz
                        2.4)  RAMBUS
                        พัฒนามาจาก DRAM แต่มีการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในใหม่ทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเข้าถึงข้อมูลภายใน RAM ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้หลักการ “Pre-fetch” หรืออ่านข้อมูลล่วงหน้าโดยระหว่างนั้น CPU สามารถทำงานอื่นไปพร้อม  กันด้วย packet ของ RAMBUS จะเรียกว่า RIMMs (Rambus Inline Memory Modules) ซึ่งมี 184 ขา
                                    RAMBUS ทำงานกับไฟกระแสตรง 2.5 V ภายใน 1 RIMMs (Rambus Inline Memory Modules)จะมีวงจรสำหรับควบคุมการหยุดจ่ายไฟแก่แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS ซึ่งยังไม่ถูกใช้งานขณะนั้น เพื่อช่วยให้ความร้อนของ RAMBUS ลดลง และวงจรดังกล่าวจะทำหน้าที่ลดความเร็วของ RAMBUS ลงหากพบว่าความร้อนของ RAMBUS ขณะนั้นสูงเกินไป
            แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS 1 แผงจะรับ-ส่งข้อมูลทีละ 16 บิต โดยใช้ความถี่ 800MHz ซึ่งเกิดจากความถี่ 400 MHz แต่ทำงานแบบ DDR (Double Data Rate) ทำให้ได้ bandwidth ถึง 1.6GB/Sec. และจะมี bandwidth สูงถึง 6.4 GB/Sec. ถ้าใช้แผงวงจรย่อย 4 แผง

RAM โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. Static Random Access Memory ( SRAM )
            คือ RAM ซึ่งเก็บรักษาข้อมูลบิตไว้ในหน่วยความจำของมันตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอยู่ ไม่เหมือนกับดีแรม (DRAM) ที่เก็บข้อมูลไว้ในเซลซึ่งประกอบขึ้นด้วยตัวเก็บประจุหรือคาปาซิเตอร์(Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor)
2. Dynamic Random Access Memory ( DRAM )
            คือ RAM หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและเครื่องเวิร์คสเตชั่น(Workstation) ลักษณะของ DRAM จะเป็นคล้ายกับเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ         ประเภทของ DRAM ในท้องตลาดแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก 
                        2.1)  FPM DRAM
                                    เป็น RAM ชนิดที่ใช้กับ PC ในยุคเริ่มต้น โดยมีรูปแบบคือ SIMM (Single Inline Memory Modules)ปกติจะมีแบบ SIMM ละ 2, 4, 8, 16 และ 32 MB โดยมีค่า refresh rate ของวงจรอยู่ที่ 60 และ 70 nana sec.โดยค่า refresh ที่น้อยกว่าจะความเร็วมากกว่า
                        2.2)  EDO DRAM
                                    เป็นชนิดที่ปรับปรุงมาจาก FPM โดยมีการปรับปรุงเรื่องการอ่านข้อมูล โดยทั่วไปแล้วการอ่านข้อมูลจาก RAM จะต้องระบุตำแหน่งแนวตั้ง และแนวนอนให้แก่วงจร RAM ถ้าเป็นชนิด FPM แล้วต้องระบุแนวใดแนวหนึ่งให้เสร็จเสียก่อน แล้วจึงระบุอีกแนวหนึ่ง แต่ EDO สามารถระบุค่าตำแหน่งในแนวตั้ง (CAS) และแนวนอน(RAS) ได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน หรือพร้อมกันได้
                        2.3)  SDRAM
                        เป็น RAM ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดย 1 DIMMs จะมี 168 ขา และส่งข้อมูลได้ทีละ 64 บิต ทำให้ SDRAM แผงเดียวก็สามารถทำงานได้ เวลาในการเข้าถึงข้อมูลของ SDRAM จะมีค่าประมาณ6-12 n Sec. ปัจจุบัน SDRAM สามารถทำงานได้ที่ความถี่ 66, 100 และ 133 MHz
                        2.4)  RAMBUS
                        พัฒนามาจาก DRAM แต่มีการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในใหม่ทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเข้าถึงข้อมูลภายใน RAM ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้หลักการ “Pre-fetch” หรืออ่านข้อมูลล่วงหน้าโดยระหว่างนั้น CPU สามารถทำงานอื่นไปพร้อม  กันด้วย packet ของ RAMBUS จะเรียกว่า RIMMs (Rambus Inline Memory Modules) ซึ่งมี 184 ขา
                                    RAMBUS ทำงานกับไฟกระแสตรง 2.5 V ภายใน 1 RIMMs (Rambus Inline Memory Modules)จะมีวงจรสำหรับควบคุมการหยุดจ่ายไฟแก่แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS ซึ่งยังไม่ถูกใช้งานขณะนั้น เพื่อช่วยให้ความร้อนของ RAMBUS ลดลง และวงจรดังกล่าวจะทำหน้าที่ลดความเร็วของ RAMBUS ลงหากพบว่าความร้อนของ RAMBUS ขณะนั้นสูงเกินไป
            แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS 1 แผงจะรับ-ส่งข้อมูลทีละ 16 บิต โดยใช้ความถี่ 800MHz ซึ่งเกิดจากความถี่ 400 MHz แต่ทำงานแบบ DDR (Double Data Rate) ทำให้ได้ bandwidth ถึง 1.6GB/Sec. และจะมี bandwidth สูงถึง 6.4 GB/Sec. ถ้าใช้แผงวงจรย่อย 4 แผง


ประเภทของรอม
 คือหน่วยความจำชนิดหนึ่ง ที่มีโปรแกรม หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับ ไมโครโปรเซสเซอร์ได้โดยตรง ซึ่งโปรแกรม หรือข้อมูลนั้นจะไม่สูญหายไป
แม้ว่าจะไม่มีการจ่ายไฟเลี้ยงให้แก่ระบบ ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน ROM จะสามารถอ่านออกมาได้แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลเข้าไปได้ เว้นแต่จะใช้วิธีการพิเศษซึ่งขึ้นกับชนิดของ ROM
ชนิดของROM
·                     Manual ROM ROM (READ-ONLY MEMORY) ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน ROM จะถูกโปรแกรม โดยผู้ผลิต (โปรแกรม มาจากโรงงาน) เราจะใช้ ROM ชนิดนี้ เมื่อข้อมูลนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และมีความต้องการใช้งาน เป็นจำนวนมาก ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน ROM ได้ 
โดย
 ROM จะมีการใช้ technology ที่แตกต่างกันตัวอย่างเช่น BIPOLAR, CMOS, NMOS, PMOS
·                     PROM (Programmable ROM) PROM (PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY) ข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เอง โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง (HIGH VOLTAGE PULSED) ทำให้ METAL STRIPS หรือPOLYCRYSTALINE SILICON ที่อยู่ในตัว IC ขาดออกจากกัน ทำให้เกิดเป็นลอจิก “1” หรือ “0” ตามตำแหน่ง ที่กำหนดในหน่วยความจำนั้นๆ เมื่อPROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำ ที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ
·                     EPROM (Erasable Programmable ROM) EPROM (ERASABLE PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY) ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง (HIGH VOLTAGE SIGNAL) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM แต่ข้อมูลที่อยู่ใน EPROM เปลี่ยนแปลงได้ โดยการลบข้อมูลเดิมที่อยู่ใน EPROM ออกก่อน แล้วค่อยโปรแกรมเข้าไปใหม่ การลบข้อมูลนี้ทำได้ด้วย การฉายแสง อุลตร้าไวโอเลตเข้าไปในตัว IC โดยผ่าน ทางกระจกใส ที่อยู่บนตัว IC เมื่อฉายแสง ครู่หนึ่ง (ประมาณ 5-10 นาที) ข้อมูลที่อยู่ภายใน ก็จะถูกลบทิ้ง ซึ่งช่วงเวลา ที่ฉายแสงนี้ สามารถดูได้จากข้อมูล ที่กำหนด (DATA SHEET) มากับตัว EPROM และ มีความเหมาะสม ที่จะใช้ เมื่องานของระบบ มีโอกาส ที่จะปรับปรุงแก้ไขข้อมูลใหม่
·                     EAROM (Electrically Alterable ROM) EAROM (ELECTRICALLY ALTERABLE READ-ONLY MEMORY) 
EAROM
 หรืออีกชื่อหนึ่งว่า EEPROM (ELECTRICAL ERASABLE EPROM) เนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้าในการลบข้อมูลใน ROM เพื่อเขียนใหม่ ซึ่งใช้เวลาสั้นกว่าของ EPROM 
การลบขึ้นอยู่กับพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ดังนั้น
 EAROM (ELECTRICAL ALTERABLE ROM) จะอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีแบบ NMOS ข้อมูลจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เหมือนใน EPROM แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ ข้อมูลของ EAROM สามารถลบได้โดยทางไฟฟ้าไม่ใช่โดยการฉายแสงแบบ EPROM
โดยทั่วไปจะใช้ EPROM เพราะเราสามารถหามาใช้ และทดลองได้ง่าย มีราคาถูก วงจรต่อง่าย ไม่ยุ่งยาก และสามารถเปลี่ยนแปลงโปรแกรมได้ นอกจากระบบ ที่ทำเป็นการค้าจำนวนมาก จึงจะใช้ ROM ประเภทโปรแกรมสำเร็จ
จากรูปแสดงให้เห็นส่วนประกอบพื้นฐานของ ROM ซึ่งจะมีสัญญาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับROM และทุกชิปที่อยู่ใน ROM มักมีการจัดแบ่งแยกหน้าที่เสมอ เช่น ขาแอดเดรสของ ROMเป็นอินพุต ส่วนขาข้อมูลจะเป็นเอาต์พุต โดยหลักการแล้ว ขาข้อมูลจะต่อเข้ากับบัสข้อมูลซึ่งเป็นบัส 2 ทาง ดังนั้นเอาต์พุตของ ROM ในส่วนขาข้อมูลนี้มักจะเป็นลอจิก 3 สถานะ ซึ่งถ้าไม่ใช้ก็จะอยู่ในสถานะ ที่มีอิมพีแดนซ์สูง (High Impedence) 
ลักษณะโครงสร้างภายในของข้อมูลในหน่วยความจำ สามารถดูได้จาก Data Sheet ของROM นั้นๆ เช่น ROM ที่ระบุเป็น 1024 8 ,2048 8 หรือ 4096 8 ตัวเลขชุดแรก (1024 ,2048หรือ 4096) จะบอกจำนวนตำแหน่ง ที่ใช้เก็บข้อมูลภายใน ส่วนตัวเลขชุดที่สอง (8) เป็นตัวบอกจำนวนบิตของข้อมูลแบบขนาน ที่อ่านจาก ROM 
ในการกำหนดจำนวนเส้นของบัสแอดเดรสที่ใช้กับ ROM เราสามารถรู้ได้ด้วยสูตร
รีจิสเตอร์ (Register) 
ความหมาย (Meaning)
#1 เป็นส่วนประกอบหนึ่งใน Microprocessor ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลชั่วคราว
#2 หน่วยความจำขนายย่อยที่เก็บผลจากการคำนวณ โดยแยกพื้นที่ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำภายในไมโครโปรเซสเซอร์มาใช้ นั่นคือ Register เป็นหน่วยความจำส่วนหนึ่งใน CPU
แนะนำเว็บ (Web Guides)
- Assembly turorial : http://www.xs4all.nl/~smit/asm01001.htm
http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/z8086/cpu8086.html

1.            Register แบ่งได้ 4 กลุ่ม
1. รีจิสเตอร์ทั่วไป (General Register)
2. รีจิสเตอร์เซกเมนต์ (Segment Register)
3. รีจิสเตอร์ Pointer และ Index (Pointer and Index Register)
4. รีจิสเตอร์แฟลก (Flag Register)
2.            รีจิสเตอร์ที่ควรรู้จักตัวแรก ๆ มีอะไรบ้าง
แต่ละรีจิสเตอร์มีขนาด 1 word หรือ 1 word = 2 byte
จากตัวอย่างนี้จะแสดง Register 4 ตัวแรก คือ รีจิสเตอร์ทั่วไป (general purpose Register) กลุ่มข้อมูล อันประกอบด้วย AX, BX, CX และ DX โดยรีจิสเตอร์ที่เหลือคือ SP, BP, SI, DI, DS, ES, SS, CS และ IP ซึ่งเรียกรีจิสเตอร์เหล่านี้ว่า รีจิสเตอร์เฉพาะ(Special Register)
รีจิสเตอร์แต่ละตัวเก็บตัวเลขได้ 4 หลัก ทำให้เก็บค่าเลขในแต่ละตัวได้สูงสุดเพียง 65536 หรือ 256 * 256 นั่นเอง และ 256 ก็คือ เลขฐาน 16 จำนวน 2 หลัก ดังนั้น 0000 จึงสามารถเก็บได้ตั้งแต่ 0 ถึง 65536 หรือ 64 KB นั่นเอง
http://www.ik.ku.lt/lessons/konspekt/kti/12_files/Assembler%20Tutorial.htm
1. รีจิสเตอร์ทั่วไป (General Register)       
มีหน้าที่เก็บข้อมูล หรือผลลัพธ์จากการคำนวณ
  AX : Accumulator Register (สำหรับการอ้างอิงแบบ 16 Bit)
  BX : Base Register
  CX : Counting Register
  DX : Data Register
  ถ้าเป็น EAX, EBX, ECX, EDX จะเป็น Register สำหรับ 32 Bit

2. รีจิสเตอร์เซกเมนต์ (Segment Register)
มีหน้าที่อ้างอิงตำแหน่งในหน่วยความจำเมื่อต้องการอ่าน หรือเขียนข้อมูล
  CS : Code Segment Register
  DS : Data Segment Register
  ES : Extra Segment Register
  SS : Stack segment Register

3. รีจิสเตอร์ Pointer และ Index (Pointer and Index Register)
มีหน้าที่ในการชี้ตำแหน่งต่าง ๆ ในหน่วยความจำที่ต้องการติดต่อ
  BP : Base Pointers Register
  SP : Stack Pointer Register
  SI : Source Index Register
  DI : Destination Index Register

4. รีจิสเตอร์แฟลก (Flag Register)
ทำหน้าที่เก็บสถานะการประมวลผลจากบางคำสั่ง เช่น CMP, TEST เป็นต้น
ส่วน IP คือ Instruction Pointer Register

3.            อะไรคือ เซกเมนต์(Segment) : ออฟเซต(Offset)
เซกเมนต์เก็บอยู่ใน CS(Code segment) ส่วนออฟเซตเก็บใน IP(Instruction pointer)
เพราะคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมากกว่า 64 KB เมื่อใช้ debug และกดปุ่ม d ทุกครั้งจะกระทำการกับพื้นที่ในหน่วยความจำที่แตกต่างกัน จึงต้องใช้ เซกเมนต์และออฟเซต อ้างถึงหน่วยความจำโดยใช้ Register 2 ตัวนี้ เป็นผลให้อ้างอิงข้อมูลในหน่วยความจำได้สูงสุดถึง 4 GB หรือ (256*256)*(256*256) นั่นเอง จากตัวอย่างเมื่อใช้โปรแกรม debug ท่านจะเห็นเลข 119B และ 0100 นั่นคือ Register 2 ตัว โดย CS คือ Segment และ IP คือ Offset นั่นเอง เมื่อท่านออกจากโปรแกรม Debug ค่าของ segment จะเปลี่ยนไป แต่ IP ยังเริ่มต้นที่ 0100 เท่าเดิม
4.            อะไรคือ ความแตกต่างของ AX, AH และ AL
เมื่อ AX ประกอบด้วย 1 word หรือ 2 byte แต่การแบ่งนั้นยังแบ่งได้อีกว่า 1 byte แรกของ AX ให้เรียกว่า AH(high byte) และ 1 byte หลังเรียกว่า AL(Low byte) ทดสอบเรื่อง AH และ AL ด้วยการใช้โปรแกรม debug เพิ่มค่า AL เข้าไปใน AH ค่าเริ่มต้น AX = 1234 นั่นคือ AH = 12 และ AL = 34 ผลการบวกจะทำให้ AH = 46 หรือ AX = 4634 นั่นเอง
5.            การคูณ และหารจะเกี่ยวกับ DX อย่างไร
MUL BX หมายถึง นำ AX คูณกับ BX หลักการนี้เหมือน DIV
นำ AX คูณ BX เก็บ 16 Bit บนใน DX และ 16 Bit ล่างใน AX เช่น AX มีค่า 9001 และ BX มีค่า 0002 ผลการคูณจะได้ 00012002 จึงเก็บ 0001 ไว้ที่ DX และ 2002 ไว้ที่ AX
6.            SP, BP, SI, DI และ IP คืออะไร
รีจิสเตอร์ทั่วไปเหมือน AX, BX, CX และ DX แต่อยู่ในกลุ่มตัวชี้ และอินเด็กซ์
SP : Stack pointer
BP : Base pointer
SI : Source index
DI : Destination index
IP : Instruction pointer
7.            CS, DS, SS และ ES คืออะไร
รีจิสเตอร์กำหนดเซกเมนต์ เพราะโปรแกรมหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน แต่ละส่วนแยกออกจากกันอย่างชัดเจน แต่โปรแกรมทุกโปรแกรมมิได้ใช้ทุก segment เสมอไป
CS : Code segment
DS : Data segment
SS : Stack segment
ES : Extra segment

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ข้อมูลของหน่วยประมวลผลกลางมีประกอบด้วยอะไร และแต่ละองค์ประกอบใช้งานอย่างไร

หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit ; CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประมวลผลและควบคุมระบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยทำงานสอดคล้องสัมพันธ์กัน
หลายท่านคงสงสัยว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor), ชิป (Chip), โพรเซสเซอร์ (Processor) เหมือนหรือต่างจาก CPU หรือไม่ อย่างไร? คำตอบก็คือเหมือนกัน จะเรียกชื่ออะไรก็ได้ เนื่องจากส่วนประกอบภายในเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อนจำนวนมาก มีทรานซิสเตอร์ประกอบกันเป็นวงจรหลายล้านตัว แต่ละชิ้นมีความกว้าง 0.35 ไมครอน (ขณะที่เส้นผมคนเรามีเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 ไมครอน ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่สะอาดยิ่งกว่าความสะอาดในโรงพยาบาลเสียอีก
CPUMainboard
Ted Hoffแต่เดิมส่วนต่างๆ ของหน่วยประมวลผลกลาง จะแยกส่วนกันเป็นชิ้นๆ ต่อมาเทด ฮอฟฟ์ (Ted Hoff) นักออกแบบวงจรคอมพิวเตอร์จากบริษัท Intel ได้จัดให้ส่วนต่างๆ รวมกันภายใน Chip แผ่นเดียว เรียกว่า "ไมโครโพรเซสเซอร์ - Microprocessor" และด้วยเทคโนโลยีไมโครโพรเซสเซอร์นี่เอง ที่ทำให้พัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลไมโครคอมพิวเตอร์ ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยหน่วยย่อย ดังนี้
1. หน่วยควบคุม (Control Unit)
2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit ; ALU)
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)

CPU
การสื่อสารระหว่างหน่วยต่างๆ ใน CPU จะใช้สายสัญญาณที่เรียกว่า Bus Line หรือ Data Bus
  • หน่วยควบคุม (Control Unit)
    หน่วยควบคุมทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของหน่วยทุกๆ หน่วย ใน CPU และอุปกรณ์อื่นที่ต่อพ่วง เปรียบเสมือนสมองที่ควบคุมการทำงานส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เช่น แปลคำสั่งที่ป้อน ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลรับข้อมูลเข้ามาเพื่อทำการประมวลผล ตัดสินใจว่าจะให้เก็บข้อมูลไว้ที่ไหน ถูกต้องหรือไม่ ควบคุมให้ ALU ทำการคำนวณข้อมูลที่รับเข้ามา ตลอดจนควบคุมการแสดงผลลัพธ์ เป็นต้น
    • รับชุดคำสั่งจาก RAM แล้วทำการอ่านและแปลชุดคำสั่ง
    • ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ภายในระบบ โดยเฉพาะส่วนประกอบของ Processor
    • ควบคุมการไหลของโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่ RAM และออกจาก RAM และควบคุมการไหลของสารสนเทศ (Processed data) เข้าสู่ RAM ตาม Address ที่ว่างก่อนนำไปแสดงผล
  • หน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU; Arithmetic and Logic Unit)
    หน่วยคำนวณและตรรกะ ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic operations) และการคำนวณทางตรรกศาสตร์ (Logical operations) โดยปฏิบัติการเกี่ยวกับการคำนวณได้แก่ การบวก (Addition) ลบ (Subtraction) คูณ (Multiplication) หาร (Division) สำหรับการคำนวณทางตรรกศาสตร์ ประกอบด้วย การเปรียบเทียบค่าจริง หรือเท็จ โดยอาศัยตัวปฏิบัติการพื้นฐาน 3 ค่าคือ
    • เงื่อนไขเท่ากับ (=, Equal to condition)
    • เงื่อนไขน้อยกว่า (<, Less than condition)
    • เงื่อนไขมากกว่า (>, Greater than condition)สำหรับตัวปฏิบัติการทางตรรกะ สามารถนำมาผสมกันได้ทั้งหมด 6 รูปแบบ คือ
  • เงื่อนไขเท่ากับ (=, Equal to condition)
  • เงื่อนไขน้อยกว่า (<, Less than condition)
  • เงื่อนไขมากกว่า (>, Greater than condition)
  • เงื่อนไขน้อยกว่าหรือเท่ากับ (<=, Less than or equal condition)
  • เงื่อนไขมากกว่าหรือเท่ากับ (>=, Greater than or equal condition)
  • เงื่อนไขน้อยกว่าหรือมากกว่า (< >, Less than or greater than condition) ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่มีค่าคือ "ไม่เท่ากับ (not equal to)" นั่นเอง
  • หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
    หน่วยความจำหลัก ซึ่งมีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ Main Memory Unit, Primary Storage Unit, Internal Storage Unit เป็นหน่วยที่ใช้เก็บข้อมูล และคำสั่งเพื่อใช้ในการประมวลผล และเก็บข้อมูลตลอดจนคำสั่งชั่วคราวเท่านั้น ข้อมูลและคำสั่งจะถูกส่งมาจากหน่วยควบคุม สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
    • หน่วยความจำสำหรับเก็บคำสั่ง (Program Memory)
    • หน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง (Data & Programming Memory)

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อนักศึกษาอย่างไร
      ปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน ทำให้การเข้าถึงข้อมูลมีความรวดเร็ว การติดต่อสื่อสารมีประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานด้านต่างๆ ของหน่วยงานที่เชื่อมต่อในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การมีเว็บไซต์สำหรับเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ เป็นต้น แม้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีประโยชน์และสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงสูง และอาจก่อให้เกิดภัยอันตรายหรือสร้างความเสียหายต่อการปฏิบัติราชการได้เข่นกัน
         เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
         ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก  เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี  เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐานสามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก  มีราคาถูกลง  สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งให้บริการด้านข้อมูล  ข่าวสารด้วยกลไกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก  รวดเร็วตลอดเวลา  จะเห็นว่าชีวิตปัจจุบันเกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีเป็นอันมาก  ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการทำงาน

2.ความหมายของเทคโนโลยี  และประกอบด้วยอะไรบ้าง
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี ผู้คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเครื่องมือเครื่องจักรเชิงกลหรืออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย แต่ความเป็นจริงคือ เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานานตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มนุษย์นำความรู้จากธรรมชาติวิทยามาคิดค้นและดัดแปลงธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระดับพื้นฐานอาทิ การเพาะปลูก การชลประทาน การก่อสร้าง การทำเครื่องมือเครื่องใช้ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า เป็นต้น ปัจจัยการเพิ่มจำนวนของประชากร ข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำและการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น
เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ถ่ายทอดมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์(คริสต์ศตวรรษที่ 16-17) ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนา
วิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งดำที่สุดสูงสุด
บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พศ 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พศ 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาอย่างมาก กล่าวโดยสรุปดังนี้
  1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและ รักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ
  2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่น ๆ อีกมาก
ในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่าเป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้น